เราอ้วนหรือเปล่า ??

//เราอ้วนหรือเปล่า ??

เราอ้วนหรือเปล่า ??

คำว่าอ้วนบางครั้งอาจเป็นเรื่องของความรู้สึก ซึ่งบางคนอาจจะพอใจหรือไม่พอใจในสัดส่วนที่ตัวเองเป็นอยู่

กฎเกณฑ์แบบหยาบๆที่เรามักใช้กันคือ

เกณฑ์ทางการแพทย์

ในปัจจุบันเกณฑ์ที่ยอมรับทางการแพทย์คือ การคำนวณโดยใช้ดัชนีมวลกาย หรือเรียกว่า BMI (Body Mass Index)

BMI = น้ำหนัก(กิโลกรัม) / ส่วนสูง(เมตร) ยกกำลังสอง
เช่น หากเราหนัก 60 กิโลกรัม สูง 165 ซม.
ค่า BMI = 60/(1.65×1.65)  = 22.04

ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวว่า ค่า BMI ควรจะเป็นเท่าไหร่  เนื่องจากร่างกายของคนในแต่ละประเทศแตกต่างกัน  แต่ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับประเทศไทย ค่า BMI ที่เหมาะสม คือ

  • น้อยกว่า  18  ผอม

  • อยู่ในช่วง 18 – 22.9   เหมาะสม

  • อยู่ในช่วง 23 – 24.9   ถือว่าอ้วน

  • มากกว่า 25   ถือว่าเป็น “โรคอ้วน”

พิจารณาจากเปอร์เซ็นต์ไขมัน

เปอร์เซ็นต์ไขมันหมายถึง สัดส่วนของไขมันในร่างกายว่าเรามีกี่เปอร์เซ็นต์  เช่น คนที่หนัก 100 kg. มีไขมัน 35 kg.  ก็แปลว่ามีไขมัน 35%

แพทย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องลดน้ำหนักและเรื่องโภชนาการได้แนะนำว่าเราไม่ควรดูค่า BMI เพียงอย่างเดียวสิ่งที่ควรจะใส่ใจควบคู่ไปด้วยก็คือ เปอร์เซ็นต์ไขมัน

ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องมือที่สามารถวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายได้ราคาไม่สูงมาก

ตารางเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (Fat%)

ตารางเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (Fat%)

“ลดไขมันไม่ใช่ลดน้ำหนัก”

ปัญหาใหญ่ของคนอ้วนไม่ได้เกิดจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป แต่เกิดจากไขมันที่มากเกินไปต่างหาก  ฉะนั้นการลดน้ำหนักที่ถูกต้องเราจึงต้องรถเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายลง

วิธีการลดน้ำหนักที่ผิด มักจะเป็นการลดน้ำหนักที่เราสูญเสียกล้ามเนื้อหรือน้ำในร่างกาย มากกว่าการลดปริมาณไขมันในร่างกาย

คนอ้วนมีโอกาสเป็นโรคต่างๆสูงกว่าคนไม่อ้วนหลายเท่า ยิ่งมีน้ำหนักตัวมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีโอกาสเป็นโรคเหล่านี้มากขึ้น เช่น  โรคหัวใจ  โรคมะเร็ง  โรคเบาหวาน  ความดันโลหิต  นิ่วในถุงน้ำดี  ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ  โรคข้อ โรคเก๊าต์ โรคแทรกซ้อนตอนตั้งครรภ์

จากหนังสือ ถ้ารู้...คงผอมไปนานแล้ว
2018-09-03T04:11:27+00:00